บทความภาษาไทย

ค่าจ้างคืออะไร

บทความกฏหมายเงินอะไรเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาในวงการแรงงานอยู่ตลอดมา เพราะแต่ละกิจการต่างมีชื่อและรูปแบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างแตกต่างกันออกไป ทั้งๆที่จริงกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดนิยามคำว่าจ้างไว้แล้ว ดังนี้ “ค่าจ้าง” หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน...

สวัสดิการ…….ให้แล้วห้ามเปลี่ยนแปลงจริงหรือ???

บทความกฏหมายเชื่อว่า ทุกสถานประกอบการ นายจ้างจะต้องจัดให้มีสวัสดิการ (Welfare) ให้กับลูกจ้างของตนไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพ แบบฟอร์มพนักงาน เงินกู้สวัสดิการ งานปีใหม่ กีฬาสี รถรับส่งลูกจ้าง เป็นต้น ซึ่งยังไม่รวมถึงสวัสดิการตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่ กองทุนเงินทดแทน (Compensation Fund) กองทุนประกันสังคม (Social Insurance Fund) น้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วม ยาเวชภัณฑ์ต่างๆ  เป็นต้น ที่ผ่านมา มักมีการตีความอยู่เสมอว่า สิทธิประโยชน์ (Benefits) ที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเป็นค่าจ้าง (Wage)...

เลิกจ้างด้วยวาจา………บังคับได้จริงหรือ???

บทความกฏหมายลิ้นกับฟันย่อมกระทบกันเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเสมือนกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง วันๆหนึ่งทำงานร่วมกันไม่ต่ำกว่าเจ็ดถึงแปดชั่วโมงก็ย่อมเกิดความไม่เข้าใจต่อกันบ้าง บางครั้งก็ลุกลามไปถึงกับขั้นชี้นิ้วไล่ออก ลูกจ้างก็คงเป็นเดือดเป็นแค้นเพราะอับอายต่อเพื่อนลูกจ้างด้วยกัน วิ่งไปฟ้องศาลแรงงานเรียกร้องค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าพักร้อนที่ไม่ได้ใช้ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก ฝั่งนายจ้าง พอหายโมโห คิดว่าคงจบปัญหาแล้ว แต่มิใช่อย่างนั้นครับ พอสักสองสามสัปดาห์ ...

ทำงานไม่ได้มาตรฐานกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

บทความกฏหมายสถานประกอบการใดที่มีการว่าจ้างผู้บริหารระดับสูง หรือมีการว่าจ้างชาวต่างชาติมาทำงาน ค่าจ้างมักจะสูง และมักจะได้รับสวัสดิการที่พิเศษกว่าลูกจ้างทั่วไป เช่น จัดให้มีรถประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ จัดที่พักให้ (กรณีเป็นการว่าจ้างคนต่างชาติ) นอกจากนี้ ยังมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ประกันชีวิต ประกันภัยต่าง ๆ ให้อีก และแน่นอน การที่นายจ้างยอมลงทุนว่าจ้างขนาดนี้ก็ย่อมหวังว่า ลูกจ้างประเภทนี้จะต้องมีความสามารถพิเศษ หรือเข้ามาช่วยบริหารจัดการ หรือกระตุ้นยอดขายของสถานประกอบการให้ดีขึ้น...

การกระทำอันไม่เป็นธรรมกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

บทความกฏหมายดูเสมือนจะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแล้วสำหรับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจว่า หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้ นอกจากนี้ ลูกจ้างยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากศาลแรงงานอีกด้วย  ดังนั้น หากนายจ้างได้จ่ายเงินดังกล่าวทั้งหมดแล้วก็ถือว่า ยุติแล้ว ซึ่งความเข้าใจเช่นนี้ ยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่...

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ครั้งที่ 2(ตอนจบ)

บทความกฏหมายเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาท่านผู้อ่าน  ผู้เขียนขอเริ่มต่อเลยครับ ๑.  กรณีเลิกจ้างโดยอ้างเหตุปรับโครงสร้างองค์กร เป็นข้อยอดนิยมสำหรับนายจ้างยามเศรษฐกิจไม่ดีที่จะเลิกจ้างลูกจ้างอย่างชอบธรรม ซึ่งก็ปรากฏคดีขึ้นสู่ศาลฏีกาเป็นจำนวนมาก  และศาลก็ได้กำหนดบรรทัดฐานสำหรับกรณีดังกล่าวไว้ คือ -การปรับองค์กรโดยลดจำนวนลูกจ้าง  จะต้องมาจากเหตุขาดทุนและจะต้องถึงขนาดที่จะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้...

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ครั้งที่ 1

บทความกฏหมายมักจะเป็นที่เข้าใจผิดอยู่เสมอว่า เมื่อนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว  นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่า เพราะเหตุใด ทำให้นายจ้างพลาดท่าถูกลูกจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม บางรายก็ขอให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานมาแล้ว เรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีรายละเอียดค่อนข้างมากและจะต้องพิจารณาจากคำพิพากษาฏีกาเป็นหลัก  ซึ่งผู้เขียนคงจะต้องใช้เวลาพอสมควร เพื่อบรรยายให้เห็นบรรทัดฐานของศาลฎีกาในการวางหลักเกณฑ์ว่า เป็นธรรมหรือไม่...

สหภาพแรงงาน ภาคจบ

บทความกฏหมายเมื่อบทความ ผู้เขียนได้ปูพื้นฐานเพื่อให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า สหภาพแรงงาน มีที่มาที่ไปอย่างไร ส่วนภาคนี้จะว่ากันถึงบทบาทและหน้าที่ของสหภาพแรงงาน รวมทั้งการคุ้มครองทางกฎหมายซึ่งส่งผลให้สหภาพแรงงานเป็นผู้ทรงอิทธิพลกลุ่มหนึ่งในการนำมวลชน เนื่องจากสหภาพแรงงานมีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งถือว่า เป็นนามธรรม แต่บุคคลที่กระทำการแทนสหภาพแรงงานต่างหากที่ถือว่า มีบทบาทสำคัญในการนำพาสหภาพแรงงานเพื่อทำหน้าที่ตามวัตถุที่ประสงค์ที่ได้จัดตั้งขึ้น กล่าวคือ...

สหภาพแรงงาน ภาคหนึ่ง

บทความกฏหมายสหภาพแรงงาน เป็นองค์กรที่ลูกจ้างเป็นผู้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของลูกจ้างในการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างนายจ้างด้วยกันอีกด้วย สหภาพแรงงานมีสภาพเป็นนิติบุคคล การกระทำการใดของสหภาพแรงงานจะต้องกระทำโดยผ่านทางผู้แทน ซึ่งก็คือ กรรมการสหภาพแรงงาน ซึ่งจะถูกคัดเลือกมาจากสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี...

การห้ามประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ตอนจบ

บทความกฏหมายบทความตอนแรกของการห้ามประกอบกิจการค้าแข่งขันกับนายจ้างนั้น กล่าวถึงที่มาของการห้ามดังกล่าวเนื่องจากนายจ้างมีวัตถุประสงค์หลักที่จะป้องกันรักษาความลับทางการค้าของตนจากบุคคลใกล้ตัวซึ่งก็คือ ลูกจ้างของตนที่อาจนำความลับทางการค้าที่ได้ล่วงรู้มาจากการทำงานให้กับนายจ้างไปแพร่งพรายให้กับบุคคลภายนอก โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง อันอาจส่งผลเสียหายให้กับธุรกิจของนายจ้างอย่างร้ายแรง ผู้เขียนได้เริ่มจากวิเคราะห์ของเงื่อนไขของสัญญาจ้างแรงงาน...